จุดชี้ขาดของการหาโดเมนคุณภาพคือ backlink profile

จากบทความที่แล้ว ผมได้เล่าถึงวิธีการหาโดเมนมี PR เพื่อเอามาทำ blog network ส่วนตัว ไปแล้ว แต่นั่นอาจจะยังไม่เพียงพอต่อการหาโดเมนคุณภาพครับ เนื่องจาก ค่า indicator ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น PR, Domain authority, จำนวน backlink เป็นค่าในเชิงปริมาณทั้งสิ้น ซึ่งหมายถึงว่า ไม่ใช่ทุกโดเมนที่มี PR สูง จะเป็นโดเมนที่มีคุณภาพ

พอผมเล่ามาถึงตอนนี้ ท่านอาจจะสงสัยแล้วว่า แล้วอะไรล้ะ ที่สามารถบ่งบอกคุณภาพของโดเมนได้อย่างแท้จริง! คำตอบของผมคือ backlink profile และพ่วงด้วยชนิดและลักษณะของเว็บไซต์ในอดีตครับ

ขออธิบายสั้นๆ เกี่ยวกับความหมายของ backlink profile สั้นๆ ก็คือ ลักษณะของ backlink ที่ชี้เข้าโดเมนนั้นๆ ครับ ว่า เป็นลิ้งค์ประมาณไหน มีลิ้งค์จากเว็บสแปมรึเปล่า มีลิ้งค์จากหลากหลายโดเมนรึเปล่า หรือมาจากโดเมนเดียวเลย ลิ้งมีการกระจายตัวในหลาย server หรือไม่ เป็นต้น

สำหรับการหาว่าโดเมนนี้มีรายชื่อ backlink อะไรบ้าง ผมแนะนำ ahrefs.com ซึ่งให้ข้อมูลที่ละเอียดมาก แต่ถ้าแบบฟรีจะค่อนข้างจำกัดข้อมูลนะครับ ถ้าใช้บ่อยๆ ก็แนะนำให้สมัครไป การเข้าใช้งานก็ไม่มีอะไรยุ่งยากครับ แค่กรอกโดเมนที่เราหามาได้ใส่ในช่อง search แล้วมันก็จะแสดง backlink ที่มีของโดเมนนั้นๆ ครับ พอได้รายชื่อมาแล้ว ผมก็จะไล่ดูทีละลิ้งค์คร่าวๆ ว่าลักษณะเป็นอย่างไร โดยสรุปคร่าวๆ สำหรับโดเมนที่ผมคิดว่า ไม่ควรจะเอามาทำ blog network ส่วนตัวตามเกณฑ์ของผมคือ

  1. มี link มาจากเว็บสแปม พวก 18+ หรือของผิดกฎหมาย
  2. link anchor มีการใช้ keyword เยอะเกินไป (ซึ่งหมายความว่า โดเมนนี้อาจจะเคยใช้เป็น blog network มาก่อนหน้านี้แล้ว)
  3. มีการกระจุกตัวของ link ที่มาจากโดเมนเพียง 2-3 โดเมน หรือมี link ที่มาจาก side-wide link (ลิ้งค์พวกจาก footer, blogroll)

สำหรับบทความนี้อาจจะจบแบบห้วนๆ ไปหน่อยนะครับ ในอนาคตถ้าว่างๆ จะเอา case study ในการหาโดเมนมาฝากครับ

การหาโดเมนคุณภาพ PR สูง โดยใช้ domcop.com

วันนี้ผมจะมาแนะนำการหาโดเมนคุณภาพ โดยการใช้เครื่องมือที่ทำให้ชีวิตของคุณง่ายขึ้นเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับแต่ก่อน ปัจจุบัน มีเว็บไซต์หลายที่ เช่น expiredomains.net, registercompass, domainhaul หรือ domcop ที่จะคอยรวบรวมโดเมนที่มีคุณภาพจากแหล่งต่างๆ ไว้ในที่เดียวกัน เช่น godaddy TDNAM, namecheap, namejet, name.com domain nabber รวมทั้งหาค่าต่างๆ เช่น จำนวน index, ค่า PR, ค่า DA ฯลฯ ให้ครบ ทำให้การหาโดเมนคุณภาพเป็นเรื่องที่ง่ายมาก

ส่วนใหญ่หลักการของการหาโดเมน จะคล้ายๆ กันในเว็บไซต์ต่างๆ ข้างต้นนะครับ ต่างกันแค่หน้าตา interface แต่ก็จะมี list domain มาเป็นหลายๆ หน้า และมีระบบ filter ตามข้อมูลที่ต้องการ เช่น filter เฉพาะ PR มากกว่า 2 ซึ่งบางแห่ง ให้ค้นหากันได้ฟรีๆ บางแห่งเก็บเงินก็จะได้ list โดเมนที่มากขึ้น ผมขอใช้ domcop เป็นตัวอย่างของการหาโดเมนโดยใช้เครื่องมือที่แสนสะดวกครับ มาเริ่มกันเลย

ไปที่ domcop.com ครับ

domcop

กดตรงมุมขวาบนเพื่อทำการสมัครก่อนครับ กดที่ “register” การสมัครนี้จะได้ใช้งานฟรี 7 วัน แบบเต็มรูปแบบครับ และหลังจากนั้น ถ้าจะใช้ต่อก็เสียเงิน เริ่มต้นที่ $18 ต่อเดือน แต่ผมว่า เวลา 7 วันนี่เหลือเฟือครับ ในการหาโดเมน และ ถ้าไม่อยากเสียเงินจริงๆ ก็ สมัครโดยใช้อีเมล์ใหม่ครับ หุหุ

พอสมัครแล้วจะมีโดเมนอยู่ 3 ส่วน คือ expiring, expired และ archive

domcop

Expiring คือ โดเมนที่กำลังจะหมดอายุครับ ตรงนี้จะมีประโยชน์ตรงที่ ถ้าเราเฝ้ารอตั้งแต่ก่อนที่จะหมดอายุ โอกาสที่เราจะได้จดโดเมนนี้มาเป็นของเรา โดยที่คนอื่นไม่ตัดหน้าไปก่อน ก็จะมีมากกว่าครับ

Expired คือ โดเมนที่หมดอายุไปแล้ว แต่ยังอยู่ใน grace period หรืออาจจะเป็นโดเมนที่การประมูลเพิ่งจบลง

Archived คือ ส่วนที่สำคัญที่สุดครับ เนื่องจากเป็นโดเมนที่ว่างแล้ว (หมดอายุแล้ว เจ้าของเดิมไม่ได้ต่ออายุ และหลุดจากระบบแล้ว) ซึ่งโดเมนประเภทนี้สามารถนำมาจดใหม่ได้ในราคาปกติเลย และจะเป็นสิ่งที่ผมแนะนำต่อ เนื่องจากเป็นทางที่ประหยัดเงินที่สุด

เลือกที่ tab archive เลย ก็จะมี list domain ที่สามารถนำมาจดได้เลยกับผู้ให้บริการที่ไหนก็ได้ในราคาปกติ ไม่ต้องเสียค่าประมูลเพิ่ม แต่จะเห็นว่ามีโดเมนมากมายเหลือเกิน เป็นล้านๆ โดเมนเลยทีเดียว ดังนั้นเราต้อง filter หรือกรองกันก่อนให้คัดเฉพาะโดเมนที่เข้าเกณฑ์ของเรา โดย domcop นั้นมีเกณฑ์ และค่าต่างๆ ให้เลือกมากมาย ซึ่งแต่ละค่า ก็บ่งบอกถึงคุณภาพของโดเมนนั้นๆ ในแง่มุมที่ต่างกัน

domcop-metrics

การ filter ของ domcop นั้นได้ทำออกมาง่ายและน่าใช้ครับ โดยแบ่ง section เป็น simple และ advanced ตามรูปครับ ผมจะสอนในส่วนของ simple นะครับ ส่วน advanced นั้นเพียงแต่จะมีค่าต่างๆ ให้ filter ได้มากขึ้น ก็ลองเล่นดูเองได้เลยครับ

domcop-filter

ท่านสามารถ filter ตามแบบฉบับของท่านเองได้เลยว่า ต้องการค่า PR เท่าไหร่ โดเมนเก่าขนาดไหน มี index หรือไม่ สำหรับผมขอให้ guideline คร่าวๆ ที่ผมใช้โดยปกติก็แล้วกันครับ

  1. PR ผมจะไม่ filter ครับ (แต่เวลาจดก็จะจดพวกโดเมนที่มี PR สูงๆ ก่อน)
  2. Index google ต้องมีครับ และไม่ต้องให้โชว์โดเมนที่เป็น PR ปลอม ให้ติ๊กตรง Google idx และ hide fake PR (หัวข้อ Miscellaneous)
  3. Domain age มากกว่า 5 ปี ขึ้นไป
  4. Domain Auth (Domain authority) มากกว่า 20
  5. Page Authority มากกว่า 20

หลังจากได้ผลลัพท์มาแล้ว ก็ทำ การ sort ตามค่าต่างๆ ที่ต้องการครับ ปกติผมก็จะ sort ตามค่า PR

และหลังจากได้ list โดเมนแล้ว ให้ไล่ดูแต่ละโดเมนเลยว่า Backlink profile เป็นอย่างไร เคยมีการทำ link spam มาก่อนหรือไม่เป็นต้น ซึ่งควรจะทำทันทีที่ได้รายชื่อโดเมนมานะครับ ไม่งั้นชื่อที่เราคิดว่าดีมากๆ อาจจะโดนชิงจดไปแล้วอย่างรวดเร็ว ซึ่งประเด็นนี้ เดี๋ยวพรุ่งนี้ ถ้ามีเวลาว่างอีก จะมาเล่าให้ฟังครับ

โดเมนที่ใช้ทำ blog network ควรจดแบบไหน

ก็สวัสดีวันตรุษจีนครับ วันนี้วันไหว้ก็ขอให้เฮงๆ รวยๆ กันทุกท่าน ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ครับ หลังจากบทความที่แล้ว ก็มีคนถามเข้ามามากว่า แล้วชื่อโดเมนควรจะจดแบบไหนดี วันนี้อาจจะเขียนแบบรวบรัดซักหน่อยนะครับ เวลามีค่อนข้างจำกัด สำหรับชื่อโดเมน ผมขอแบ่งเป็น 2 หัวข้อหลัก

  1. โดเมนจดใหม่ – กรณีนี้ คือ เราจดโดเมนใหม่ทั้งหมด ซึ่งการทำ blog network ส่วนตัว ด้วยโดเมนจดใหม่ อาจจะต้องใช้ระยะเวลา เพราะแต่ละโดเมนยังไม่มี backlink เข้า ซึ่งเราจำเป็นต้องหา backlink เข้า blog network เราอย่างสม่ำเสมอในช่วงแรกๆ 3-6 เดือน เพื่อให้มีบอทวิ่งเข้ามาในเว็บอย่างสม่ำเสมอ และทำให้ฐานลิ้งค์เราแข็งแรงครับ อธิบายอย่างนี้ ก็มีคำถามอีกว่า แล้ว ชื่อโดเมน เป็นแบบไหนดี ถ้าท่านเว็บหลักที่ต้องการดันอันดับของท่าน เป็นคีย์เวิดในกลุ่มเดียวเลย เช่น ท่านขายรองเท้า เป็นหลัก และคิดว่าจะไม่ทำอย่างอื่นเลย ชื่อโดเมน ควรมีคำที่เกี่ยวข้องกับรองเท้า เพื่อเพิ่ม link relevancy ครับ (คือ ลิ้งค์ที่มาจากโดเมนที่เกี่ยวข้อง) แต่ถ้าคิดจะทำหลายๆ สินค้า ก็จดชื่ออะไรก็ได้ครับ
  2. โดเมนเก่า มี PR – จากบทความที่แล้ว ผมได้เล่าหลักเกณฑ์คร่าวๆ ในการหาโดเมนเก่าคุณภาพ มาทำ blog network การจดโดเมนประเภทนี้ เราไม่จำเป็นต้องสนใจชื่อครับ เพราะว่า การหาทั้งโดเมนมีคุณภาพ และชื่อที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเรานั้นยากมาก แทบจะเป็นไปไม่ได้ (แต่ถ้าได้ก็ดี) ก็ให้ดูค่าต่างๆ ให้ตามเกณฑ์เป็นหลักครับ พวกค่า PR, DA, จำนวน Backlink เป็นต้น

อาจจะมีคำถามอีกว่า เราควรจดโดเมนแบบ privacy มั้ย – ปกติเวลาจดโดเมน ไม่ว่าจะเป็นกับ Godaddy, namecheap, name.com เค้าจะมี option ให้เลือกว่า จะทำ domain privacy หรือไม่ ตรงส่วนนี้ขออธิบายให้กับมือใหม่หน่อยนะครับ (มือเก่าอ่านข้ามไปได้เลย) ปกติ เวลาเราจดโดเมน ข้อมูลที่เกี่ยวกับเจ้าของโดเมน ชื่อคนจด ที่อยู่ อีเมล์ อะไรพวกนี้ จะสามารถค้นหาได้ผ่านระบบ whois ซึ่งการทำ network ส่วนตัวนั้น เราจำเป็นต้องให้แต่ละโดเมน มีชื่อคนจดโดเมนที่แตกต่างกัน เพื่อให้ Google มองว่า ลิ้งค์ที่เป็น backlink มาจากเจ้าของคนละคนกันครับ สรุปเลยแล้วกัน ถ้าไม่ทำ privacy domain ก็ ให้จดโดเมนโดยระบุชื่อคนจดเป็นคนละชื่อครับ (อาจจะจดใน account เดียวกันได้ แล้วแก้ข้อมูลของแต่ละโดเมนภายหลัง สามารถแก้ได้ในหลังบ้านของที่จดโดเมนแต่ละที่)

หาโดเมนทำ blog network ต้องดูปัจจัยอะไรบ้าง

สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆ ในการทำ blog network ส่วนตัวคือ การคัดเลือกโดเมน การใช้โดเมนที่ดีในการทำ network ส่วนตัวนั้น ถือว่า มีชัยไปกว่าครึ่ง เรียกง่ายๆ คือ เหมือนได้กินบุญเก่า แทนที่เราจะเริ่มต้นจาก 0 ถ้ามีโดเมนที่มีคุณภาพในมือแล้ว ก็ได้เปรียบอย่างมาก

แล้วหาโดเมนที่มีคุณภาพอย่างไรดี?

ก่อนอื่นต้องอธิบายกันก่อนว่า แค่ไหน ถึงเรียกว่าคุณภาพ ถ้าคนที่เคยศึกษาตรงนี้มา จะมีคำที่อยู่ในหัวอยู่บ้าง แต่อาจจะไม่รู้ว่ามันคืออะไร เช่น ค่า PR, DA, Moz rank เยอะเยะไปหมด ผมขออนุญาติอธิบายเป็นรายตัวไปเลยครับ

  1. PR – pagerank – น่าจะเป็นคำที่คุ้นเคยกันมากที่สุด PR คือการจัดอันดับคุณภาพของหน้าเว็บไซต์ตามเกณฑ์ของ Google ครับ โดยจากประสบการณ์ส่วนตัวแล้วค่า PR จะคำนวณจาก คุณภาพเนื้อหา, ทราฟฟิกที่เข้าดูในหน้านั้นๆ และ จำนวน backlink ที่ชี้เข้าหาหน้านั้นๆ – ค่า PR นั้นยิ่งสูงยิ่งดี ซึ่งจะมีตั้งแต่ 0 ถึง 10 และส่วนใหญ่คนทำ seo จะเล่นกันที่ PR ประมาณ 3 ถึง 6 แล้วแต่งบประมาณ (ยิ่งโดเมน PR สูง ยิ่งแพง) ข้อควรระวัง ซึ่งทำให้หลายคนพลาด และเข้าใจผิดคือ ค่า PR ที่ Google คำนวณให้เป็นค่าในอดีตนะครับ อารมณ์เหมือนผลประกอบการบริษัทที่รายงานทุกไตรมาส ดังนั้น PR ที่แสดงอยู่ อาจจะลดลงในอนาคตได้ ถ้าปัจจัยที่นำมาคำนวณต่างไปจากเดิม เช่น เจ้าของโดเมนเดิม นำ backlink ออกไป การดูค่า PR อย่างเดียวในการหาโดเมน จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำครับ ต้องดูค่าอื่นๆ เช่น DA, Moz rank หรือ อื่นๆ ประกอบด้วย
  2. Domain age – อายุของโดเมน ตรงนี้ดูเป็นส่วนประกอบกันครับ คือ ยิ่งเก่ายิ่งดี บางโดเมนมีการจดตั้งแต่ปี 1999 และเปลี่ยนมือมาเรื่อยๆ จากประสบการณ์ที่ผ่านมา Google ยังคงให้ความสำคัญกับโดเมนเก่ามากกว่าโดเมนใหม่ แต่ทั้งนี้ ต้องระวังเรื่องประวัติของโดเมนเก่าด้วยครับ ว่าโดเมนนี้เคยทำอะไรมาบ้าง เคยเป็นโดเมนที่ทำ link spam รึเปล่า เป็นต้น
  3. จำนวน Indexed – ประเด็นที่ผมสนใจในการดูจำนวน indexed เพียงแค่ดูว่า โดเมนนี้ถูกแบนจาก Google มาก่อนหน้านี้หรือไม่ ดังนั้น ผมขอให้มีอย่างน้อย 1 indexed ก็พอครับ
  4. ค่า DA – Domain Authority – อันนี้เป็นค่าดัชนีที่ทาง moz.com คำนวณมาซึ่งจะบอกว่าโดเมนนั้นๆ มีคุณภาพขนาดไหน ซึ่งคำนวณมาจากหลายๆ ปัจจัย เช่น จำนวน backlink อายุโดเมน PR และอื่นๆ เป็นต้น อ่านถึงตรงนี้แล้ว ท่านคงสงสัยว่า แล้วงี้ เราดูค่า DA ค่าเดียวเลยไม่ได้หรือ – คำตอบคือ ได้บางส่วนครับ เนื่องจาก บางทีข้อมูลที่ moz.com นำมาคำนวณก็ยังไม่สมบูรณ์เช่น จำนวน backlink อาจจะมีการเก็บข้อมูลได้น้อยกว่า รายใหญ่อย่าง ahrefs.com ในโพสต่อๆ ไปผมจะเขียนแบบ step-by-step ในการหาโดเมนครับ สำหรับบทความนี้ให้รู้เบสิค และทฤษฎีกันก่อน
  5. จำนวน backlink – ข้อมุลนี้สามารถหาได้จาก หลายแหล่ง โดยที่นิยมคือ majestic และ ahrefs ซึ่งมีทั้งแบบฟรี และเสียเงิน (แบบเสียเงินจะมีข้อมุลให้ดูได้ไม่จำกัด) จำนวน backlink ยิ่งมากก็ยิ่งดีครับ แต่ทั้งนี้ต้องดูด้วยว่ามากด้วยคุณภาพหรือปริมาณ ในกรณีนี้เราอาจจะต้องลองกดเข้าไปดูว่า backlink ของโดเมนนั้นๆ มันเป้นเว็บลักษณะไหน ลิ้งมาจาก spam website รึเปล่า

ผมว่าทั้ง 5 ที่พูดมา ผมให้ความสำคัญกับ จำนวน และ ลักษณะของ backlink ของโดเมนมากที่สุด เพราะมันจะเป็นตัวบอกได้คร่าวๆ เลยว่า โดเมนนั้นคุณภาพจริงรึเปล่า เคยผ่านอะไรมาบ้าง

ในบทความต่อไปผมจะเขียนเรื่องการหาโดเมนแบบ step by step นะครับ และถ้ามีโอกาสในอนาคต จะเขียนเกี่ยวกับ case study ในการหาโดเมนให้ดูว่า โดเมนลักษณะไหนดีไม่ดีอย่างไร ^^