ใช้ blog network ส่วนตัวให้คุ้ม โดยการใช้เป็นหน้าร้านออนไลน์ซะเลย

วันนี้ผมจะมาแนะนำ trick เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการเพิ่มยอดขายของท่านนะครับ ในกรณีที่ท่านทำเว็บไซต์ขายของออนไลน์ต่างๆ ท่านอาจจะมีหน้าเว็บหลักของท่านอยู่แล้ว เช่น ขายรองเท้า ขายปั๊มน้ำ ขายอุปกรณ์สัตว์เลี้ยง แล้วก็จะทำ seo โดยการสร้าง blog network ส่วนตัว สมมุติท่านสร้าง network ส่วนตัว 100ip – 100 domains/websites นั่นหมายถึงว่า ท่านมีเว็บไซต์ในครอบครอง 101 เว็บไซต์เลยทีเดียว (รวม 100 + 1 เว็บหลัก)

ท่านอาจจะเคย หรือไม่เคยสังเกตเห็นก็ตาม ลองสังเกตดูครับ อาจจะมีเว็บคู่แข่งของท่าน ขายของอย่างเดียวกัน กระจายอยู่หลายๆ เว็บ (แต่ทั้งหมด ลึกๆ แล้ว เป็นเจ้าของคนเดียวกัน) บางทีสมมุติว่าท่านขายรองเท้ายี่ห้อหนึ่ง มีคู่แข่ง ที่เป็นเว็บไซต์ ที่ขายของแบบเดียวับท่านเลย อยู่ 10 เว็บ ท่านเคยคิดรึเปล่าครับ ไอ 10 เว็บนั้น มันอาจจะเป็นเจ้าของคนเดียวกันเลย แต่มันทำ 10 เว็บ ลองคิดดูครับ เท่ากับว่า เว็บท่าน 1 เว็บ เจอคู่แข่ง 10 เว็บ 10 รุม 1 กันเลยทีเดียว

ดังนั้นคิดในมุมง่ายๆ ครับ ท่านมี เว็บ network 100 เว็บ ทำไมไม่ทำให้มันเป็นหน้าร้านย่อยๆ ของท่านไปด้วยเลยหละครับ ก็เท่ากับว่า ท่านมีหน้าร้านบนโลกออนไลน์อยู่ 101 ร้านด้วยกัน ซึ่งประหยัดกว่าการไปเช่าที่ เช่าตึกเปิดสาขาอยู่มาก วิธีการก็ไม่ได้ยากอะไรครับ ก็อาจจะแค่ทำเว็บรีวิวสินค้า บอกสรรพคุณ แนะนำวิธีการใช้งาน แล้วก็ใส่ช่องทางการติดต่อ

ทีนี้วิธีนี้อาจจะเพิ่มช่องทางการขายของท่านขึ้นมา และแน่นอนว่า อาจจะเพิ่มยอดขายให้ท่านได้ แต่ก็มีข้อควรระวังอยู่นิดนึงครับ เนื่องจากเว็บ blog network ส่วนตัว ถ้าท่านอ่านบทความเก่าๆ ของผม อาจจะพบว่า หลักการที่สำคัญคือ อย่าทำอะไรที่มันเปน footprints หรือ ซ้ำกันในแต่ละเว็บไซต์ ซึ่งจะทำให้ Google detect ได้ว่าเป็นเจ้าของคนเดียวกัน แต่การใส่เบอร์โทรของร้าน หรือช่องทางการติดต่อ ซึ่งอาจจะเหมือนกันในทุกๆ เว็บ blog network ของเรา ก็คือ footprints อย่างหนึ่ง แน่นอนครับ ผมคงไม่แนะนำว่า ให้ใช้หลายๆ เบอร์โทรสิ เพราะถ้าท่านมี 100 เว็บ ใช้ 100 เบอร์โทร มันคงเป็นไปไม่ได้ สิ่งที่ผมจะแนะนำ ง่ายกว่านั้นครับ คือ เอาพวกข้อมูลการติดต่อทั้งหลาย ใส่ไว้ในรูปแบบของรูปภาพเลย (เราอาจจะดีไซน์รูปให้ต่างกัน แต่ข้อมูลเหมือนกัน) เนื่องจาก google ยังไม่สามารถอ่านข้อความในรูปได้ครับ จึงค่อนข้างปลอดภัยที่จะใช้วิธีนี้ ที่สำคัญ อย่าลืม คือให้เปลี่ยนชื่อไฟล์ของรูปในแต่ละเว็บให้ต่างกันด้วยครับ เพื่อความเนียนยิ่งขึ้น

ศาสตร์ของการวางลิ้งค์ สำหรับ blog network ส่วนตัว

เป็นคำถามที่พบบ่อยมากๆ ครับ สำหรับคำถามที่ว่า เราควรจะทำ backlink กับ network ส่วนตัว โดยการวางลิ้งค์ที่จุดไหนของหน้าเว็บ ถึงจะได้รับผลลัพท์ที่ดีที่สุด วันนี้ผมขอมาเล่าให้ฟังว่า การวางลิ้งค์นั้นมีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีข้อกีข้อเสียอย่างไรนะครับ จะได้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจได้ว่า ท่านจะวางลิ้งค์ที่ตรงจุดไหน

สำหรับลิ้งค์ในหน้าเว็บ จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ

  1. ลิ้งค์ที่มาจาก sidebar/blog roll/เว็บเพื่อนบ้าน
  2. ลิ้งค์ที่มาจากตรง footer ของเว็บไซต์
  3. ลิ้งค์ที่มาจากบทความ

สำหรับลิ้งค์ในข้อ 1 และ 2 ผมขอเรียกแบบรวมๆ ว่า sitewide link นะครับ เนื่องจากเป็นลิ้งค์ที่ติดครั้งเดียว และแสดงในทุกหน้าของเว็บไซต์ ลิ้งค์แบบนี้ ถึงแม้ว่า จะได้จำนวนลิ้งค์ที่มาก ตามจำนวนหน้าของเว็บไซต์นั้นๆ แล้ว แต่ก็มีความเสี่ยงมากครับ เนื่องจาก Google อาจจะมองว่าเป็นลิ้งค์สแปมได้ เพราะติดลิ้งค์ทีเดียว ถ้าหน้าเว็บมีเป็นร้อยหน้า มันก็จะเป็นร้อย backlink จากเว็บๆ เดียว ถ้าเกิดเว็บไม่แข็งจริงๆ การติดลิ้งค์ด้วยวิธีนี้อาจจะทำให้เว็บร่วงได้ครับ คำว่าเว็บไม่แข็งหมายความว่า เว็บยังอายุน้อย และมีค่า authority ไม่มากพอที่ google จะมองว่าเป็นเว็บคุณภาพได้ ข้อควรระวังอีกประการสำหรับการทำลิ้งค์ชนิด sitewide link กับ blog network ส่วนตัว ก็คือ อย่าติดลิ้งค์ชุดเดียวกันในทุกๆ เว็บ ลองคิดดูนะครับ ท่านทำเว็บได้ perfect มากๆ ทุก blog network เนื้อหาต่างกันหมด theme ต่างกัน แต่ดันมาติดลิ้งค์ที่เหมือนกันทุกเว็บตรง sidebar หรือ footer ก็จบเลยครับ

ต่อมาขออธิบายรูปแบบลิ้งค์ในข้อที่ 3 คือ ลิ้งค์ที่แทรกอยู่ในบทความ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่แนะนำ และคนทำ blog network นิยมใช้กันมากที่สุด เนื่องจาก มันสามารถส่งค่าพลัง backlink ได้มากกว่าจุดอื่นๆ ในหน้าเว็บ แต่อย่างไรก็ตาม การลิ้งผ่านบทความนั้นก็ต้องระวัง เช่นกันครับ ถ้าเกิดเราลิ้งโดยใช้แต่ keyword หลัก ในการทำลิ้งค์ก็อาจจะโดน detect โดย algorithm ของ google ได้ครับ ผมแนะนำให้ใช้ลิ้งค์ปนๆ กันใน 3 รูปแบบดังนี้

  1. ใช้เป็น keyword anchor
  2. ใช้เป็นรูปประโยค
  3. ใช้เป็น ลิ้งค์ url หรือชื่อเว็บปลายทาง

สำหรับตำแหน่ง และจำนวนลิ้งค์ต่อบทความควรเป็นเท่าไหร่ดี

สำหัรบคำถามนี้ผมว่ามันหลากหลายมากครับ แต่อยากจะแนะนำว่า โดยทั่วๆ ไป จะไม่ควรเกิน 3 ลิ้งค์ และไม่ควรจะลิ้งค์ไปที่เดียวกันหมดครับ ส่วนตำแหน่ง ก็อาจจะแทรกอยู่ใน ระหว่างบทความ หรือทำเป็น reference ท้ายบทความ (เหมือนที่ wikipedia ทำ) ก็ได้ครับ

วันนี้ขอลาไปเท่านี้ก่อนครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้าง ^^

บทความแบบไหนถึงถูกใจ Google พร้อมวิธีในการหาไอเดียเขียนบทความ

สวัสดีครับ กลับมาแล้วคร้าบ ตามคำสัญญา ครั้งก่อนติดค้างไว้ในเรื่องของบทความแบบไหน ถึงจะถูกใจ google ซึ่งผมคิดว่าบทความนี่แหละครับ เป็นตัวชี้เป็นชี้ตายเกือบจะ 70% เลยในการทำ network ส่วนตัวให้ประสบความสำเร็จ และไม่โดนแบน ก่อนจะเริ่มเรื่องว่าบทความแบบไหนถูกใจ google ผมอยากขอเล่าในด้านตรงกันข้ามก่อน คือ บทความแบบไหน Google ไม่ชอบ และผมอยากจะเตือนว่า อย่าทำนะครับแบบนี้ ไม่งั้นสิ่งที่ท่านทำมา นอกจากสูญเปล่าแล้ว ยังอาจส่งผลด้านลบกับอันดับเว็บท่านอีกด้วย เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา

รูปแบบบทความที่ควรหลีกเลี่ยง

  1. พวกที่ดึงข้อความมาจากเว็บต่างๆ แล้วทำการแทรกคีย์เวิร์ด – แต่ก่อนเทคนิคนี้เวิกมากๆ ครับ และง่ายมากๆ สำหรับคนที่เขียนสคิปเพื่อดึงข่าวต่างๆ มา แล้วก็แทรกด้วยคีย์เวิดที่ต้องการ บวกกับสปินบทความ เปลี่ยนคำให้แตกต่างกันในแต่ละเว็บ บทความพวกนี้จะอ่านไม่รู้เรื่องเลยครับ และที่สำคัญ เนื้อหาไม่เกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดที่ทำเลย เช่น ดึงข่าวการเมืองมา แต่ทำคีย์ขายเสื้อผ้าแฟชั่น ซึ่งมันดูตลกๆ มากครับ ซึ่งปัจจุบัน google จับทางบทความประเภทนี้ได้แล้วครับ แม้ว่าจะเป็นภาษาไทยก็ตาม
  2. บทความที่เขียนเอง แต่สั้นมากๆ – บางคนใช้วิธีเขียนบทความเอง แต่เขียนแบบสั้นโคตรๆ ประมาณ 1 ย่อหน้า แล้ววางลิ้งค์เลย บทความสั้นๆ จะได้ผลลัพท์ทาง seo ที่น้อยมากๆ ครับ
  3. บทความที่มีการทำลิ้งค์ โดยใช้ keyword anchor ทุกลิ้ง และลิ้งค์แบบเป็น pattern – โดยส่วนมาก ถ้าเกิดเราใช้โปรแกรมโพส หรือระบบอัตโนมัติต่างๆ มักจะลืมคำนึงถึงจุดนี้ครับ คือไม่ยอมปรับแต่งโปรแกรมให้มีการโพสที่หลากหลาย บทความอาจจะดูดี เขียนเอง ขั้นต่ำ 500 คำ แต่การโพสลิ้งค์ใช้ keyword เป็น anchor text ทุกลิ้งค์ หรือวางลิ้งไว้ท้ายโพสทุกโพส เป็นต้น อะไรก็ตามที่เป็น pattern จะถูกจับได้ในไม่ช้าครับ

ให้ลองคิดดูดีๆ นะครับ ท่านลงทุนกับโดเมนอย่างดีเลย ลงทุนเช่าโฮส แต่ดันมาคิดว่า เอาง่ายเข้าว่า เอาเร็วเข้าว่า แบบว่าขี้เกียจทำ ทำแบบนี้เรียกว่าคิดสั้นเลยครับ นอกจากจะเสียเงินแล้ว ยังไม่คุ้มอีกด้วย ทำ blog network ส่วนตัว ให้ทำดีๆ ไปเลยครับ พอเว็บ network เราแข็งเมื่อไหร่ ทีนี้หละ สบายเลย จะทำอันดับกับเว็บไหน ก็ไม่กลัวแล้ว

พอเราทราบแล้วว่าบทความแบบไหนไม่ดีแล้ว ทีนี้ผมจะเริ่มอธิบายแล้วว่า บทความประเภทไหน ที่เรียกว่าบทความคุณภาพ ยังจำเนื้อหาในตอนก่อนๆ ของผมได้มั้ยครับ ที่พูดถึงเรื่อง เว็บ blog network ส่วนตัวที่ดี ควรจะทำให้เหมือนเว็บไซต์จริงๆ ลองคิดต่อไปอีกหน่อยนะครับ ว่า เราจะทำยังไงให้บทความมันมีลักษณะเว็บไซต์จริงๆ ผมคิดง่ายๆ แบบนี้ครับ ปกติคนที่ทำ blog เขียนบล๊อกในเรื่องที่คนนั้นชอบหรือถนัด เค้ามักจะสอดแทรก life style หรือบุคลิกส่วนตัวลงไปในบทความด้วย สิ่งเหล่านี้ ฝรั่งเค้าจะเรียกว่า personas พูดง่ายๆ คือ พอพูดถึงบล๊อกนี้ คาแรคเตอร์เปนแบบนี้ เช่น aommoney ภาพการ์ตูน น่ารักๆ พร้อมคำอธิบายทางด้านการเงินแบบเข้าใจง่าย ก็จะออกมา เป็นต่น อ่านถึงตรงนี้ คงจะบ่นแล้วว่า โห มันจะเสียเวลาสร้าง personas อะไรนี่รึเปล่านะ 55 ขอตอบว่าวิธีสร้าง personas ง่ายๆ ที่ผมใช้คือ การใส่ plugin author ต่างๆ ครับ แล้วมันจะทำให้ส่วนของผู้เขียนบทความ โผล่ขึ้นมา พร้อมทั้งข้อมูลเบื้องต้นของคนๆ นั้น ดังนั้น ทำครั้งเดียวต่อบล๊อกครับ เขียนสั้นๆ ว่าคนๆ นั้น (สมมุติ) เป็นคนแบบไหน lifestyle เป็นอย่างไร ทำไมถึงมาเขียนบล๊อกนี้ เป็นต้น ใน 1 blog ถ้าเราขยันก็อาจจะสร้างหลายๆ author (ผู้เขียน) ได้นะครับ

author

plugin author ลอง search หาในระบบ plugin ของ wordpress แล้วเลือกใช้ดูเลยครับ ส่วนตัวของผมใช้ “simple author box”

 

หลังจากเราสร้างตัวตนในแต่ละบล๊อกแล้ว ต่อไปการเขียนบทความ ผมก็จะแนะนำ ชนิดของบทความที่ควรใช้ครับ จริงๆ แล้วถ้าเขียนเองได้จะดีที่สุดครับ แต่เข้าใจว่า ถ้าทำเยอะๆ มันก็คงจะเหนื่อยอยู่เหมือนกัน แน่นอนครับ เกณฑ์มาตรฐานของบทความ ความยาวควรจะเกิน 500 คำขึ้นไป และถ้าเกิน 1000 คำได้ ยิ่งดี เราจะเรียกบทความยาวๆ พวกนี้ว่า long-formed

รูปแบบบทความแบบไหนที่ google ชอบ

  1. long-formed article – ปัจจุบันในเมืองนอกนั้น ฮิตกันมากครับ สำหรับบทความรูปแบบนี้ บทความยาวๆ สาระเน้นๆ มีรูปประกอบ มีวิดีโอ บทความประเภทนี้จะใช้เวลาค่อนข้างเยอะ แต่ก็เหมาะกับการทำ content marketing เป็นอย่างยิ่งครับ (คือ ไม่ได้หวังผลทาง SEO อย่างเดียว แต่คนเข้ามาอ่าน ต้องได้ความรู้กลับไป และอยากจะซื้อของเราเพิ่มเติมด้วย)
  2. บทความ how to – การทำอย่างนั้น การทำอย่างนี้ วิธีทำ พวกนี้ได้รับความนิยมตลอดกาลครับ ลองเสิทหาใน google สำหรับแนวทางการเขียนบทความครับ ให้เสิทมาหลายๆ อัน แล้วเราเอามาเขียนยำรวมกันเป็นภาษาของเรา แค่นี้ก็ได้บทความที่เป็น unique content แล้วครับ
  3. บทความรวมนั่นรวมนี่ หรือบทความจัดอันดับ – เช่น รวม 10 แบบบ้านยอดฮิต หรือ จัดอันดับบุฟเฟต์ยอดฮิต 7 อันดับ
  4. infographic – สำหรับ infographic นั้น ผมจะใช้หาใน google image ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง แล้วก็ repost เอาครับ หรือถ้าใครจะทำเองก็ไม่ว่ากัน (แต่ผมว่าเสียเวลา)

ต้องโพสบ่อยแต่ไหน

จริงๆ แล้วปัจจุบัน การโพสถี่ๆ ไม่มีผลเลยครับ แต่ก่อนการโพสที่อาจจะเรียกบอท หรือทำเพื่อให้ดูเว็บมัน active ปัจจุบันบอท google ถือว่าเก็บ index ได้เร็ว ความเห็นส่วนตัวผม ผมจะโพสบทความดีๆ ไปเลยครับ ไม่เน้นปริมาณ และ 1 คีย์เวิดที่ทำ ผมจะโพสแค่ 1 บทความ จนกว่าจะทำทุกคีย์ ค่อยวนกลับมาใหม่

ควรทำ link แบบไหนดี

ผมน่าจะเคยเขียนไปบ้างแล้วครับ ถ้าจำไม่ผิดว่า ปัจจุบันการทำ blog network ส่วนตัว แบบที่เป็นใช้ keyword เป็น anchor text ในทุกโพส เป็นความเสี่ยง เพราะ google เริ่มจะมี algorithm สำหรับจัดการตรงนี้ ในกรณีที่ใช้ keyword เป็น anchor มากเกินไป อาจจะถูกลงโทษได้ สำหรับส่วนผม จะลิ้งแบบผสมกันระหว่าง 3 แบบครับ คือ เป็นแบบ keyword, แบบประโยค และแบบชื่อเว็บไซต์ หรือ url ตรงๆ ของเว็บไซต์นั้นๆ

บทความวันนี้อาจจะยาวหน่อยนะครับ เพราะแบบนี้คือ long-formed article อิอิ หวังว่าผู้อ่านทุกท่านคงจะได้ประโยชน์กันนะครับ มีข้อสงสัยตรงไหน ก็ comment มาได้ครับ ขอบคุณมากครับ

เทคนิคการทำให้ blog network คุณ ดูเหมือนเว็บไซต์คุณภาพแท้ๆ

วันนี้ผมได้คุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านการทำ search engine optimization ชาวต่างชาติ เนื่องจากปกติแล้วบริษัทรับทำ seo ต่างประเทศ จะยังคงใช้ blog network ส่วนตัว ในการทำอันดับให้ลูกค้าทั้งสิ้น เนื่องจากมันได้ผลลัพท์ที่มีประสิทธิภาพสูง ก็เลยได้คุยว่ามีปัญหาเรื่องการโดน de-index บ้างหรือเปล่า ก็เลยได้คุย และอัพเดตแง่มุมต่างๆ ในการทำ network ส่วนตัว ซึ่งหลายๆ สิ่งก็เป็นสิ่งที่ผมคิดและทำอยู่แล้ว แต่ยังไงก็ตาม ก็อยากจะเอามาแชร์ให้ทุกท่านได้อ่านกันครับ

ปัจจุบันเว็บ blog network ควรจะทำให้ดูเหมือนกับว่าเป็นเว็บไซต์จริงๆ อาจจะดูงงๆ นะครับ ว่า อ้าว! แล้วเว็บ blog network มันไม่ใช่เว็บหรือ แล้วไอเว็บจริงๆ ที่ว่ามันเป็นอย่างไร เว็บไซต์จริงๆ ที่ผมหมายถึง คือเว็บไซต์ที่ไม่ได้ปั่น ไม่ได้ทำลวกๆ สั่วๆ ขึ้นมาครับ อารมณ์เหมือนเวลาท่านทำเว็บไซต์แต่ละเว็บ ก็อยากให้มันดีที่สุด ดังนั้นวันนี้ ผมจะมาคุยว่า ลักษณะของเว็บไซต์ที่ควรจะเป็น ควรจะมีอะไรบ้าง มาเริ่มกันเลยครับ (ผมจะพูดถึงการใช้งานโดย wordpress เป็นหลักนะครับ แต่ถ้าใช้ script ตัวอื่น ก็เอาแนวคิดไปปรับใช้ได้ครับ)

  1. ชื่อ author ของ blog ควรต่างกัน – เวลาเราติดตั้ง wordpress เราจะสามารถกำหนดชื่อ admin ได้ครับ ตรงนี้ให้ให้ชื่อที่แตกต่างก้ันในแต่ละ blog ครับ
  2. ใช้ theme ที่แตกต่างกันในแต่ละเว็บไซต์ – ปัจจุบันนี้ โคตรง่ายเลยครับ มี theme เป็นหมื่นๆ ให้เราเลือกใช้งานได้แบบฟรีๆ ผ่านระบบ wordpress
  3. สมัคร social network account ของแต่ละ blog – เว็บคุณภาพที่เค้าตั้งใจทำ เค้ามักจะมี facebook มี twitter ให้เรากดแชร์ กด like กด tweet ใช่รึเปล่าครับ กรณีนี้ถ้าเราขยัน (มันทำครั้งเดียว) ก็ไปไล่สมัคร facebook, twitter account ให้กับแต่ละ blog network เลยครับ ทีนี้ blog network ส่วนตัวเราแต่ละเว็บ มันก็จะดู สมจริงมากขึ้น หรือ ตอนจดโดเมนเพื่อมาทำ blog network ให้หาโดเมนที่มี facebook/twitter account อยู่ก่อนแล้ว ก็จะยิ่งง่ายเลยยครับ เพราะเราจะได้ facebook/twitter ที่มีคนติดตามอยู่แล้ว
  4. เพิ่มหน้า privacy/contact/term of use – หน้าพวกนี้ เว็บใหญ่ๆ จะมีครับ เราทำ blog network ส่วนตัว ก็เนียนๆ มีไปด้วยเลยครับ เทคนิคคือ ให้ใช้ชื่อที่คละๆ ต่างๆ กัน อย่าใช้ชื่อเดียวกันหมดทุกบล๊อก เช่นใช้ contact us, get in touch, contact, send email อะไรพวกนี้ครับ
  5. Permalink setting – wordpress จะมีระบบ link ที่เรียกว่า permalink ที่เราสามารถแก้ไขลักษณะลิ้งของเวบเราให้เป็นไปตามที่เราต้องการได้ที่เมนู setting > permalink อย่าเซตให้มันเปนแบบเดียวกันทุกบล๊อกนะครับ ให้ใช้ในแบบต่างๆ กัน คละๆ กันไป
  6. ข้อมูลเบื้องต้นของเว็บไซต์ – จำเป็นนะครับที่ต้องแก้ไขข้อมูลเบื้องต้นของเว็บไซต์ สโลแกน ให้มันดูดี ไม่เหมือนสแปม และให้แก้ให้หลากหลาย โดยอิงตามชื่อโดเมนครับ เช่น โดเมนชื่อ fastmovergetrich.com เราอาจจะตั้งชื่อหัวข้อบล๊อกว่า Fast mover get rich – the fastest way to get rich. ฝรั่งบางคนทำ blog network ส่วนตัว ถึงขั้นจ้างออกแบบโลโก้ให้แต่ละบล๊อกเลยนะครับ ลงทุนกันมากๆ แต่ถ้างบเราน้อย ก็ออกแบบเองง่ายๆ ก็ได้ครับ ไม่ต้องสวยเลิศเลอ ขอแค่ ไม่ให้เหมือนกัน (ตรงนี้จะกันเวลาโดนคนมาตรวจได้ดี)

นอกจาก 6 ข้อที่ผมบอกไปแล้ว อาจจะมีเทคนิคอื่นๆ อีกมากมายนะครับ ที่ไม่ได้พูดถึง (ผมนึกได้แค่นี้ แหะๆ) แต่ให้จำหลักไว้ครับว่า เว็บที่ดีๆ ที่เราจะตั้งใจทำ มันเปนยังไง ก็ทำแบบนั้น ฝรั่งเค้าจะเรียกว่า “Make it look real” คือทำให้มันดูเหมือนจริงที่สุดครับ แต่มีอีกเรื่องนึงที่สำคัญมากๆ และเป็นส่วนสำคัญแทบจะอันดับหนึ่งของการทำ blog network ส่วนตัวเลยก็ว่าได้ นั่นก็คือในส่วนของ บทความครับ ในครั้งหน้า ผมจะมาอธิบายให้ฟังว่า เว็บที่ดี ควรมีบทความในลักษณะไหน ถึงจะได้ผลลัพท์ที่ดีที่สุด

แนะนำ plugin ที่ควรใช้ ในการทำ blog network ส่วนตัว

หายไปนาน (อีกแล้ว) ช่วงนี้เริ่มกลับมายุ่งเหมือนเดิมครับ โปรเจครัดตัว แต่ก็จะพยายามกลับมาเขียนให้ได้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ครับ ผมสัญญา ^^

วันนี้ผมจะแนะนำ wordpress plugin ที่คนทำ seo หรือ blog network ส่วนตัว ทั้งในต่างประเทศ และคนไทย นิยมใช้กันนะครับ พร้อมทั้งอธิบายว่ามันดีอย่างไร เริ่มเลย!

  1. mainwp – ตัวนี้จะเป็นตัวช่วยในการบริหารจัดการ wordpress ของเราเกือบทั้งหมดครับ ไม่ว่าจะเป็น การอัพเดตเวอร์ชั่น การติดตั้ง plugin เปลีย่น theme แก้ไข setting ต่างๆ ซึ่ง mainwp หลักการจะเป็นแบบว่า ให้เราติดตั้ง plugin ลูกๆ ไว้ที่เว็บ wordpress ของเราแต่ละเว้บไซต์ แล้ว เราสามารถ login เข้าหน้าจัดการศูนย์กลางของ mainwp ที่เดียว ก็สามารถบริหารจัดการเว็บไซต์ wordpress หลายๆ เว็บ ไว้ในที่เดียวกันได้ครับ
  2. WordPress SEO – ตัวนี้สามารถเอามาใช้แทน all in one SEO ซึ่งได้รับความนิยมใช้กัน เนื่องจากมันจะช่วยเรื่องการ generate title, description ของเว็บไซต์ให้อัตโนมัติครับ
  3. Author sure – เคยเห็นผลลัพท์การค้นหาใน Google ที่มันมีรูปหน้าคนเขียนบทความเป็นรูปเล็กๆ แสดงขึ้นมามั้ยครับ พวกนี้มันจะดุึงมาจาก profile เช่น ของ Google+ โดย plugin ตัวนี้จะช่วยเชื่อม account google+ ของเรา เพื่อเอาหน้าไปโชว์ในผลการค้นหา ประโยชน์ก็คือ ทำให้เว้บไซต์เราดูมีตัวตนมากขึ้นครับ ไม่ใช่เว็บปั่น เว้บสแปม แต่ เราควรจะให้ชื่อ author (คนเขียนบล๊อก) ของแต่ละเว็บไซต์ของเรา แตกต่างกันนะครับ ถ้าเหมือนกันหละเสร็จเลย
  4. XML sitemap & Google new feeds – เป็นปลั๊กอิน ที่จะ generate sitemap file ให้เราอัตโนมัติครับ โดย sitemap file เป็นเหมือนแผนที่นำทางให้ google bot เข้ามาเก็บข้อมูลเว้บไซต์เราได้ง่ายขึ้น ช่วยในการ index เร็วขึ้น
  5. Table of Content plus – เคยเห็นใช่มั้ยครับ เว็บใหญ่ๆ เนื้อหายาวๆ อย่างเว้บ wikipedia จะมีสารบัญอยู่ด้านบน plugin ตัวนี้จะคอยสร้าง สารบัญของโพสเราให้ครับ ทำให้ดูแล้ว บทความเรามันน่าอ่าน และดูดี มีคุณภาพขึ้นมาในสายตาของ google bot
  6. Contact form 7 – เอาไว้สร้าง contact form ทำไมเราถึงจำเป็นต้องสร้าง contact form มันเป็นแค่เว็บ network ใครจะมาติดต่อเรา ท่านคงคิดแบบนี้ใช่เปล่าครับ แต่ผมจะบอกว่า การทำ network ส่วนตัว เราก็จำเป็นต้องทำทุกอย่างให้เหมือนเว็บจริงๆ ทั่วไป ซึ่งก็ควรจะมี contact form (แม้จะไม่มีคนมาติดต่อก็ตาม) เพื่อให้ดูว่าเว็บแต่ละเว็บตั้งใจทำขึ้นมาจริงๆ ไม่ใช่ปั่น หรือสแปมขึ้นมา
  7. Akismet – plugin ดั้งเดิม ที่ติดมากับ wordpress เลย เป็น plugin ที่ช่วยจัดการ spam comment ได้อย่างดีเยี่ยมครับ

หวังว่าโพสนี้คงถูกใจนะครับ เพราะผมได้รับคำถามเข้ามาเยอะพอสมควรกับประเด็นนี้ว่า ทำ network ส่วนตัว ต้องใช้ plugin อะไรบ้าง แล้วถ้าว่างๆ จะแวะมาอัพเดตใหม่นะครับ

เราควรใช้ wordpress ในการทำ blog network ทั้งหมดหรือไม่

สวัสดีครับ หลังจากที่บล๊อกเปิดตัวมาซักระยะแล้ว น่าจะเกือบๆ เดือน ผมเขียนบทความที่เกี่ยวข้องกับการทำ blog network ส่วนตัวมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ แนะนำในเรื่องการหาโดเมน จดโดเมน การเลือกโฮสติ้ง ตอนนี้ก็มาถึงขั้นตอนการเริ่มทำเว็บไซต์ ซักทีครับ ผมได้รับคำถามมามากมายเลยครับ ว่า ใช้อะไรทำเว็บไซต์ดี ใช้เป็น wordpress ทั้งหมดเลยได้หรือไม่ วันนี้ผมจะมาตอบคำถามนี้ให้ครับ

ทำไมผู้ที่ทำ network ส่วนตัว เกินกว่า 90% ใช้ wordpress ในการทำเว็บทั้งหมด

  1. เพราะ wordpress ใช้งานง่ายครับ เป็น content management system ที่คนทั่วโลกนิยมใช้งานมากที่สุด มันทั้งฟรี และใช้งานง่าย
  2. มี plugin และ theme ให้เลือกใช้มากมาย การเปลี่ยน theme ทำได้เพียงไม่กี่คลิก
  3. มีระบบรองรับหลากหลาย เนื่องจากระบบโพส หรือระบบการดูแลเว็บไซต์ ส่วนใหญ่ จะมีรองรับเฉพาะ wordpress

ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยครับ ที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้ wordpress เอามาทำเว็บไซต์ แต่คำถามคือ มันจะปลอดภัยรึเปล่า ถ้าเว็บ network ส่วนตัวของเราใช้ wordpress ในการทำเว็บไซต์ทั้งหมด ลองดูสถิติการใช้งานทั่วโลกว่า เค้านิยมใช้งาน CMS อะไรกันบ้าง ดูตามภาพครับ

wordpress-market-share

wordpress มีสัดส่วนการใช้งานที่เยอะที่สุด เกือบๆ ครึ่งนึงของเว็บไซต์ทั่วโลก ใช้ wordpress ดังนั้นผมว่าปลอดภัยครับ ที่จะใช้ wordpress ทำ network ทั้งหมด ด้วยเหตุผลที่ว่า คนส่วนใหญ่ใช้กันหมด แล้วการที่ google จะมาเพ่งเล็ง แล้วแบนเว็บที่ทำด้วย wordpress ก็ไม่สมเหตุสมผลนะครับ ว่ามั้ย

ในความเป็นจริงแล้ว การที่ Google จะลงโทษเว็บใด หรือไม่ลงโทษเว็บใด อยู่ที่ลักษณะของเว็บนั้นล้วนๆ ครับ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าคุณใช้ wordpress หรือใช้ cms อื่นๆ ตราบใดที่คุณทำเว็บแบบ spam ใช้อะไรก็โดนแบนครับ

แล้วถ้าไม่ใช้ wordpress หละ มีอะไรแนะนำบ้างครับ?

  1. ใช้ CMS ตัวอื่น ซึ่งที่นิยมรองลงมาจะเป็น drupal หรือ joomla ครับ แต่ถ้าในประเทศไทยจะนิยม pligg กับ smf ครับ
  2. เขียนเว็บไซต์เองเลย เป็น html sites วิธีนี้ผมแนะนำครับ ถ้ามีความถึกมากพอ 55 เพราะว่าน่าจะเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดแล้วในการทำ network ส่วนตัว เนื่องจาก เว็บไซต์แต่ละเว็บที่เราทำขึ้นมา หน้าตาและโครงสร้าง จะไม่เหมือนกันเลย และไม่เหมือนใครในโลกด้วย unique สุดๆ

ขอให้มีความสุขกับการทำ blog network ส่วนตัวครับ ^^