บทความแบบไหนถึงถูกใจ Google พร้อมวิธีในการหาไอเดียเขียนบทความ

สวัสดีครับ กลับมาแล้วคร้าบ ตามคำสัญญา ครั้งก่อนติดค้างไว้ในเรื่องของบทความแบบไหน ถึงจะถูกใจ google ซึ่งผมคิดว่าบทความนี่แหละครับ เป็นตัวชี้เป็นชี้ตายเกือบจะ 70% เลยในการทำ network ส่วนตัวให้ประสบความสำเร็จ และไม่โดนแบน ก่อนจะเริ่มเรื่องว่าบทความแบบไหนถูกใจ google ผมอยากขอเล่าในด้านตรงกันข้ามก่อน คือ บทความแบบไหน Google ไม่ชอบ และผมอยากจะเตือนว่า อย่าทำนะครับแบบนี้ ไม่งั้นสิ่งที่ท่านทำมา นอกจากสูญเปล่าแล้ว ยังอาจส่งผลด้านลบกับอันดับเว็บท่านอีกด้วย เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา

รูปแบบบทความที่ควรหลีกเลี่ยง

  1. พวกที่ดึงข้อความมาจากเว็บต่างๆ แล้วทำการแทรกคีย์เวิร์ด – แต่ก่อนเทคนิคนี้เวิกมากๆ ครับ และง่ายมากๆ สำหรับคนที่เขียนสคิปเพื่อดึงข่าวต่างๆ มา แล้วก็แทรกด้วยคีย์เวิดที่ต้องการ บวกกับสปินบทความ เปลี่ยนคำให้แตกต่างกันในแต่ละเว็บ บทความพวกนี้จะอ่านไม่รู้เรื่องเลยครับ และที่สำคัญ เนื้อหาไม่เกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดที่ทำเลย เช่น ดึงข่าวการเมืองมา แต่ทำคีย์ขายเสื้อผ้าแฟชั่น ซึ่งมันดูตลกๆ มากครับ ซึ่งปัจจุบัน google จับทางบทความประเภทนี้ได้แล้วครับ แม้ว่าจะเป็นภาษาไทยก็ตาม
  2. บทความที่เขียนเอง แต่สั้นมากๆ – บางคนใช้วิธีเขียนบทความเอง แต่เขียนแบบสั้นโคตรๆ ประมาณ 1 ย่อหน้า แล้ววางลิ้งค์เลย บทความสั้นๆ จะได้ผลลัพท์ทาง seo ที่น้อยมากๆ ครับ
  3. บทความที่มีการทำลิ้งค์ โดยใช้ keyword anchor ทุกลิ้ง และลิ้งค์แบบเป็น pattern – โดยส่วนมาก ถ้าเกิดเราใช้โปรแกรมโพส หรือระบบอัตโนมัติต่างๆ มักจะลืมคำนึงถึงจุดนี้ครับ คือไม่ยอมปรับแต่งโปรแกรมให้มีการโพสที่หลากหลาย บทความอาจจะดูดี เขียนเอง ขั้นต่ำ 500 คำ แต่การโพสลิ้งค์ใช้ keyword เป็น anchor text ทุกลิ้งค์ หรือวางลิ้งไว้ท้ายโพสทุกโพส เป็นต้น อะไรก็ตามที่เป็น pattern จะถูกจับได้ในไม่ช้าครับ

ให้ลองคิดดูดีๆ นะครับ ท่านลงทุนกับโดเมนอย่างดีเลย ลงทุนเช่าโฮส แต่ดันมาคิดว่า เอาง่ายเข้าว่า เอาเร็วเข้าว่า แบบว่าขี้เกียจทำ ทำแบบนี้เรียกว่าคิดสั้นเลยครับ นอกจากจะเสียเงินแล้ว ยังไม่คุ้มอีกด้วย ทำ blog network ส่วนตัว ให้ทำดีๆ ไปเลยครับ พอเว็บ network เราแข็งเมื่อไหร่ ทีนี้หละ สบายเลย จะทำอันดับกับเว็บไหน ก็ไม่กลัวแล้ว

พอเราทราบแล้วว่าบทความแบบไหนไม่ดีแล้ว ทีนี้ผมจะเริ่มอธิบายแล้วว่า บทความประเภทไหน ที่เรียกว่าบทความคุณภาพ ยังจำเนื้อหาในตอนก่อนๆ ของผมได้มั้ยครับ ที่พูดถึงเรื่อง เว็บ blog network ส่วนตัวที่ดี ควรจะทำให้เหมือนเว็บไซต์จริงๆ ลองคิดต่อไปอีกหน่อยนะครับ ว่า เราจะทำยังไงให้บทความมันมีลักษณะเว็บไซต์จริงๆ ผมคิดง่ายๆ แบบนี้ครับ ปกติคนที่ทำ blog เขียนบล๊อกในเรื่องที่คนนั้นชอบหรือถนัด เค้ามักจะสอดแทรก life style หรือบุคลิกส่วนตัวลงไปในบทความด้วย สิ่งเหล่านี้ ฝรั่งเค้าจะเรียกว่า personas พูดง่ายๆ คือ พอพูดถึงบล๊อกนี้ คาแรคเตอร์เปนแบบนี้ เช่น aommoney ภาพการ์ตูน น่ารักๆ พร้อมคำอธิบายทางด้านการเงินแบบเข้าใจง่าย ก็จะออกมา เป็นต่น อ่านถึงตรงนี้ คงจะบ่นแล้วว่า โห มันจะเสียเวลาสร้าง personas อะไรนี่รึเปล่านะ 55 ขอตอบว่าวิธีสร้าง personas ง่ายๆ ที่ผมใช้คือ การใส่ plugin author ต่างๆ ครับ แล้วมันจะทำให้ส่วนของผู้เขียนบทความ โผล่ขึ้นมา พร้อมทั้งข้อมูลเบื้องต้นของคนๆ นั้น ดังนั้น ทำครั้งเดียวต่อบล๊อกครับ เขียนสั้นๆ ว่าคนๆ นั้น (สมมุติ) เป็นคนแบบไหน lifestyle เป็นอย่างไร ทำไมถึงมาเขียนบล๊อกนี้ เป็นต้น ใน 1 blog ถ้าเราขยันก็อาจจะสร้างหลายๆ author (ผู้เขียน) ได้นะครับ

author

plugin author ลอง search หาในระบบ plugin ของ wordpress แล้วเลือกใช้ดูเลยครับ ส่วนตัวของผมใช้ “simple author box”

 

หลังจากเราสร้างตัวตนในแต่ละบล๊อกแล้ว ต่อไปการเขียนบทความ ผมก็จะแนะนำ ชนิดของบทความที่ควรใช้ครับ จริงๆ แล้วถ้าเขียนเองได้จะดีที่สุดครับ แต่เข้าใจว่า ถ้าทำเยอะๆ มันก็คงจะเหนื่อยอยู่เหมือนกัน แน่นอนครับ เกณฑ์มาตรฐานของบทความ ความยาวควรจะเกิน 500 คำขึ้นไป และถ้าเกิน 1000 คำได้ ยิ่งดี เราจะเรียกบทความยาวๆ พวกนี้ว่า long-formed

รูปแบบบทความแบบไหนที่ google ชอบ

  1. long-formed article – ปัจจุบันในเมืองนอกนั้น ฮิตกันมากครับ สำหรับบทความรูปแบบนี้ บทความยาวๆ สาระเน้นๆ มีรูปประกอบ มีวิดีโอ บทความประเภทนี้จะใช้เวลาค่อนข้างเยอะ แต่ก็เหมาะกับการทำ content marketing เป็นอย่างยิ่งครับ (คือ ไม่ได้หวังผลทาง SEO อย่างเดียว แต่คนเข้ามาอ่าน ต้องได้ความรู้กลับไป และอยากจะซื้อของเราเพิ่มเติมด้วย)
  2. บทความ how to – การทำอย่างนั้น การทำอย่างนี้ วิธีทำ พวกนี้ได้รับความนิยมตลอดกาลครับ ลองเสิทหาใน google สำหรับแนวทางการเขียนบทความครับ ให้เสิทมาหลายๆ อัน แล้วเราเอามาเขียนยำรวมกันเป็นภาษาของเรา แค่นี้ก็ได้บทความที่เป็น unique content แล้วครับ
  3. บทความรวมนั่นรวมนี่ หรือบทความจัดอันดับ – เช่น รวม 10 แบบบ้านยอดฮิต หรือ จัดอันดับบุฟเฟต์ยอดฮิต 7 อันดับ
  4. infographic – สำหรับ infographic นั้น ผมจะใช้หาใน google image ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง แล้วก็ repost เอาครับ หรือถ้าใครจะทำเองก็ไม่ว่ากัน (แต่ผมว่าเสียเวลา)

ต้องโพสบ่อยแต่ไหน

จริงๆ แล้วปัจจุบัน การโพสถี่ๆ ไม่มีผลเลยครับ แต่ก่อนการโพสที่อาจจะเรียกบอท หรือทำเพื่อให้ดูเว็บมัน active ปัจจุบันบอท google ถือว่าเก็บ index ได้เร็ว ความเห็นส่วนตัวผม ผมจะโพสบทความดีๆ ไปเลยครับ ไม่เน้นปริมาณ และ 1 คีย์เวิดที่ทำ ผมจะโพสแค่ 1 บทความ จนกว่าจะทำทุกคีย์ ค่อยวนกลับมาใหม่

ควรทำ link แบบไหนดี

ผมน่าจะเคยเขียนไปบ้างแล้วครับ ถ้าจำไม่ผิดว่า ปัจจุบันการทำ blog network ส่วนตัว แบบที่เป็นใช้ keyword เป็น anchor text ในทุกโพส เป็นความเสี่ยง เพราะ google เริ่มจะมี algorithm สำหรับจัดการตรงนี้ ในกรณีที่ใช้ keyword เป็น anchor มากเกินไป อาจจะถูกลงโทษได้ สำหรับส่วนผม จะลิ้งแบบผสมกันระหว่าง 3 แบบครับ คือ เป็นแบบ keyword, แบบประโยค และแบบชื่อเว็บไซต์ หรือ url ตรงๆ ของเว็บไซต์นั้นๆ

บทความวันนี้อาจจะยาวหน่อยนะครับ เพราะแบบนี้คือ long-formed article อิอิ หวังว่าผู้อ่านทุกท่านคงจะได้ประโยชน์กันนะครับ มีข้อสงสัยตรงไหน ก็ comment มาได้ครับ ขอบคุณมากครับ

ขี้เกียจอ่านข้อมูลทั้งเว็บรึป่าวครับ? ลงชื่อและอีเมล์ด้านล่าง แล้วผมจะส่งข้อมูลสรุป แบบชัดๆ ย่อยง่าย ทำตามได้เลย เป็น action plan 7 วัน (สอนผ่านอีเมล์ 7 วัน วันละอีเมล์)
4 Comments

    pop

    สุดยอดมากครับคุณ zidit บทความมีประโยชน์มากๆ ครับ โดยส่วนตัวผมลองกับบาง blog network แล้วว่าทำให้ดูเหมือนเว็บไซต์ผ่านมา 2 ปี รอดตลอดที่มีการกวาดล้าง LN ของ google ครับ ทำให้ดูเหมือนเว็บจริง ก็เช่นดังที่คุณ zidit เขียน และเพิ่มในส่วนของ traffic และ social เข้าไปด้วย

      pbnman

      ขอบคุณมากครับ ด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ^^

        pop

        ขออนุญาตแชร์ต่อนะครับ ^^

          pbnman

          ได้เลยครับผม ^^

ส่งความเห็นที่ pop ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

*
*